ความเป็นเมือง (urbanization)
แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นเมือง
Gould and Kobb (1964:739 อ้างใน http://www.dpt.go.th/Sub-web/itdb/txt/pop/urban4.htm) อธิบายว่า ความเป็นเมืองมีหลายความหมายดังนี้
1. ความเป็นเมืองอาจหมายถึงการกระจาย (Diffused) ของอิทธิพลสังคมเมืองไปสู่สังคมชนบท คำว่า“อิทธิพล” ที่ได้กระจายไปนั้นหมายถึงขนบธรรมเนียมและลักษณะ (Trait) ของเมือง
2. ความเป็นเมืองหมายถึง ปรากฏการณ์ของลักษณะสังคมเมืองที่เกิดขึ้น หรือลักษณะของสังคมเมืองในแง่ประชากร คำนิยามนี้พบเสมอ ๆ ในหนังสือของสังคมวิทยาชนบท กล่าวคือการปฏิวัติทางด้านวัฒนธรรมในเขตชนบทได้กลายเป็นวัฒนธรรมแบบสังคมเมือง
3. นักประชากรศาสตร์เข้าใจความเป็นเมืองว่าเป็นกระบวนการของประชากรที่มารวมกันอยู่อย่างหนาแน่น มีความหมายสำคัญที่ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งของการเคลื่อนไหวจากที่ไม่ใช่สังคมเมืองไปเพื่อให้ดึงความสมบูรณ์ของลักษณะเมืองของประชาชนที่มารวมอยู่อย่างหนาแน่น
4. ความเป็นเมือง เป็นกระบวนการของการรวมตัวอยู่อย่างหนาแน่นของประชากรซึ่งในอัตราขอประชากรในเมือง ต่อประชากรทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น12
นอกจากนี้ Hawley (1981 อ้างใน ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล, 2539 : 38) ให้คำจำกัดความของกระบวนการกลายเป็นเมือง หรือ Urbanization ว่าเป็นการเคลื่อนไหวจากหน่วยเรียบง่าย และมีความเป็นท้องถิ่นสูงไปสู่ระบบที่ซับซ้อนและมีการขยายอาณาบริเวณออกไปโดยมีการจัดองค์กรแบบเมือง การที่อัตราและระดับของกระบวนการเป็นเมืองจะเพิ่มขึ้นได้นั้น ขึ้นอยู่อย่างมากกับเทคโนโลยีที่ใช้เกี่ยวกับการจัดองค์กรเพื่อให้ทุกๆ ส่วนประสานสัมพันธ์กัน
Edwin Eames and Judith Goode (อ้างใน ปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2545) กล่าวว่า Urbanization หมายถึง กระบวนการของการเป็นเมือง ซึ่งเนื่องมาจากการอพยพทางประชากร จาก เขตที่ไม่ใช่เมือง ไปยังเขตเมือง หรือเนื่องมาจากการขยายตัวของเขตที่อยู่อาศัยที่ไม่ใช่เมืองมาก่อน ทั้งในด้านรูปแบบและการหน้าที่ (Forms และ Functions) ของการตั้งถิ่นฐานนั้นๆ จนเกิดเป็นชุมชนเมืองขึ้น
Werner Z. Hirsch (1973 อ้างใน กฤช เพิ่มทันจิตต์ 2536 : 22) ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ พิจารณากระบวนการเกิดเมืองในแง่ของกระบวนการและปัญหาของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจชนบทถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไปสู่เศรษฐกิจเมือง ดังนั้น กระบวนการเกิดเป็นเมือง จึงเกี่ยวข้องกับการแปลงสภาพประชากร กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง ของเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอบนพื้นที่ มีลักษณะการใช้แรงงานเข้มข้น และมีความเป็นปัจเจกภาพสูง ไปสู่ฐานะของเศรษฐกิจเมือง ซึ่งมีการกระจุกตัวกันบนพื้นที่ค่อนข้างมาก มีความชำนาญเฉพาะอย่างในการผลิตสินค้าและการบริการสูง และมีการพึ่งพาต่อกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญก็คือ เศรษฐกิจเมืองมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม (Innovation) และลักษณะของการประกอบการในระดับสูงนอกจากนี้ สิ่งที่สัมพันธ์กับกระบวนการเกิดเมือง โดยเฉพาะ คือ การกระจุกตัวกันของประชาชนบนพื้นที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า ความหนาแน่น (Density) ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางพื้นที่อย่างใกล้ชิดของผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางพื้นที่อย่างใกล้ชิด ประกอบกับความชำนาญทางการผลิตเฉพาะอย่างส่งผลให้เกิดการพึ่งพาต่อกัน ระหว่างผู้ประกอบการต่างๆ ในชุมชนเมือง ความหนาแน่นของประชากรทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการร่วมกันอย่างมี13ประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และการเพิ่มงบประมาณของรัฐบาล
Urbanization and the evolution of cities across 10,000 years
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น